[ Milan Trend Remix ] เมื่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมมีผลกับแฟชั่น

ไปงาน Milan Trend Remix ของแสนสิริ ที่ Sansiri Lounge ชั้น 3 ของพารากอนมาค่ะ เป็นงานที่พูดเกี่ยวกับ Milan Design Week ของปีนี้ที่จัดที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี โดยการพาผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการซึ่งต่างเคยไปที่ Milan Design Week มาร่วมแชร์ประสบการณ์กับผู้ฟัง (ซึ่งแน่นเต็มห้องแบบไม่คิดว่าจะเยอะขนาดนี้)

ประสบการณ์ต่าง ๆ ใน Milan นั้น จะเป็นเรื่องของงานดีไซน์ เทรนด์ของปีนี้ บางกระแสคือ ไม่ได้มีอะไรโดดเด่น เป็นการนำเทรนด์ของปีก่อน ๆ มาดัดแปลงเท่านั้น

ขณะที่บางกระแสระบุว่า ความน่าสนใจก็ยังคงมีอยู่ แต่สิ่งที่ทำให้ Milan น่าสนใจคือการผสมผสานระหว่างแฟชั่นกับความต้องการทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น

– การ recycle โดยนำวัสดุเหลือทิ้งมาทำเฟอร์นิเจอร์ (จากข้อมูลในงาน ไม่ถึง 10% ของขยะใน UK ถูกนำมา recycle)

– การออกแบบในลักษณะ minimalist เพื่อตอบรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ

– การมีกฎหมายกำกับดูแลเกี่ยวกับ carbon footprint ของ EU ซึ่งได้ส่งผลต่องานดีไซน์ ที่ทำให้งานดีไซน์ในยุคนี้เน้นเคลื่อนย้ายง่าย ลดต้นทุน ไม่หรูฟราฟู่ฟ่า และใช้วัสดุที่ eco-friendly ที่สุด โดยมีการลดภาษีเป็นแรงจูงใจ

– มีการสร้างงานออกแบบจากวัสดุ เช่น ตัวผ้า “fabric as architecture”  เป็นการเพิ่ม function ของผ้าอีกระดับ

– มีการดีไซน์ย้อนกลับไปปี 1950s ด้วยแรงบันดาลใจจาก ศก.ตกตํ่า และสงครามกับผู้ก่อการร้าย ที่ทำให้นึกย้อนไปถึงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ผู้ฟังเนืองแน่นเต็มห้อง

ย้อนกลับมาดูประเทศไทย กรุงเทพฯ ที่เป็นเมืองขนาดใหญ่ขึ้นทุกปี แต่บ้านของพวกเรากลับเล็กลงทุกปี เฟอร์นิเจอร์ก็จะต้องมีลักษณะไม่หรูหราฟู่ฟ่าใหญ่โตนัก จะต้องเป็นแบบเรียบง่าย ย้ายสะดวกด้วยเช่นกัน แต่ที่สำคัญจะต้องยังคงความสวยงามตามสไตล์ของมันอยู่

เก้าอี้ตัวนี้ถูกออกแบบมาสไตล์ minimalist

Fashion หากมองในสายตาของค่านิยมเอเชีย คือความหรูหราฟุ่มเฟือย ขณะที่ตะวันตกมักมองว่า มันคือศิลปะ ศิลปะในที่นี้ จะช่วย “เพิ่มมูลค่า” เข้าไปให้กับสินค้าที่ผลิตในประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันน้อย (ค่าแรงแพง ฯลฯ) โดยทำให้สามารถใช้แข่งได้โดยสร้าง creative industry ซึ่งจะช่วยพัฒนา product-based industry แบบเก่าๆ ทำให้ขายได้ราคาที่มีส่วนต่างของมูลค่ากำไรกับเงินทุนมากขึ้น

เพราะต้นทุนส่วนหนึ่งของ creative products นั้นไม่ได้มาจากเงินทุน แต่มาจากความคิด ซึงคือ ทรัพย์สินทางปัญญา

(ดังเช่นที่ UK และเกาหลีใต้เน้น Creative Industry เพราะแข่งค่าแรงถูกคงไม่ไหว)เครื่องดื่มภายในงาน (อาหารอร่อย ต้องชม)

ขณะที่ creativity ไม่ใช่แค่การ design แปลกใหม่ แต่ต้องสร้างสรรค์เชิงประยุกต์ใช้งานได้ และตอบโจทย์ของคนในยุคนั้นๆ

ในตอนเช้าของวันนั้น ได้มีโอกาสฟังท่านศุภชัย พานิชภักดิ์ พูดเรื่อง global economic trend เรื่องนี้สามารถโยงกันได้อย่างลงตัว เพราะ micro-economic trend จริง ๆ แล้วก็คือตัวที่สามารถผลักดันให้ภาพรวมไปได้ไกลยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในแง่มุมของ micro จะผลิตได้ก็ต้องอาศัยความต้องการ (demand) สิ่งสำคัญเลยคือการกระตุ้นความต้องการภายในประเทศได้ให้

ในงาน Milan Trend Remix มีผู้บรรยายท่านหนึ่งบอกว่า “หากอุตสาหกรรม fashion ของไทยจะไปได้ไกล เราขายคนไทยอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องส่งออก”

ข้าพเจ้าเห็นด้วยส่วนหนึ่ง แต่เมื่อดูจากสภาพเศรษฐกิจยุโรปตอนนี้แล้ว อุตสาหกรรม fashion ของเราก็คงหวังพึ่งส่งออกอย่างเดียวไม่ได้ด้วยเช่นกัน


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *