เล่าประสบการณ์ตรงการเรียนหนังสือสไตล์ “อังกฤษ” : จริงหรือที่ว่าเด็กฝรั่งเรียนสบาย?

ทุก ๆ วันนี้ผู้เขียนได้มีโอกาสได้เลคเชอร์ให้นักศึกษาไทยอยู่บ้าง อาจจะไม่ได้บ่อยนัก แต่ก็มากพอที่จะเข้าใจธรรมชาติของนักศึกษาไทย หลายคนมีความสนใจในสิ่งที่พูดดี แต่เมื่อถึงคราวเปิดให้มีส่วนร่วมในการถามคำถาม กลับใช้เวลานานมากกว่าจะมีใครสักคนกล้าที่จะถามคำถามขึ้นมาสักอย่างหนึ่ง และยิ่งหากเปิดให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ยิ่งกลับไม่มีใครยกมือ ว่าแล้วก็นึกไปถึงสิ่งที่ผู้เขียนได้ยินเด็กไทย (รวมทั้งตัวผู้เขียนสมัยเด็ก ๆ เองด้วย) พูดตลอดเวลาว่า “อยากให้การศึกษาไทยเป็นเหมือนเมืองนอกจัง” เพราะเราคิดว่า เด็กฝรั่งไม่ต้องท่องจำ ไม่ต้องมีการบ้านหรือ project ท่วม และคิดไปเองว่า “เด็กฝรั่งไม่ต้องเรียนหนักเท่าเด็กไทย” เด็กฝรั่งไม่ต้องเรียนหนักจริงหรือ? แล้วการศึกษาไทยจะเป็นอย่างระบบตะวันตกได้ไหม? ผู้เขียนจะขอเล่าประสบการณ์การเรียนหนังสือสไตล์ “อังกฤษ” ให้ฟังเพื่อเป็นตัวเปรียบเทียบ เหตุที่ต้องขอเปรียบเทียบกับระบบอังกฤษนั้น เนื่องจากผู้เขียนมีประสบการณ์ตรง เป็นระบบที่ค่อนข้างจะแตกต่างจากไทยอย่าง extreme มากกว่าระบบอเมริกัน บางสิ่งที่ดูผิวเผินแล้วเหมือนน่าอิจฉา  คลาสเล็กเว่อ ๆ แค่ 3-8 คน คลาสตอนสมัยเรียนมัธยมไปจนถึงปริญญาตรี มีราว ๆ คลาสละ 3-8 คน พอปริญญาโท ก็เพิ่มเป็นราว ๆ 10-20 คน นี่อาจจะฟังดูแล้วน่าอิจฉาสำหรับเด็กไทย คลาสเล็กก็แปลว่า อาจารย์สามารถ concentrate กับการสอนเราได้ดีขึ้น อาจารย์จะรู้จักเราดีมาก แม้กระทั่งในระดับมหาวิทยาลัย… More เล่าประสบการณ์ตรงการเรียนหนังสือสไตล์ “อังกฤษ” : จริงหรือที่ว่าเด็กฝรั่งเรียนสบาย?

ทำให้ตัวคุณเองเป็น “carbon-neutral” กันเถอะ

เราก็คงได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า โรงงานอุตสาหกรรม A ในประเทศ B ปล่อยคาร์บอนเท่านั้นเท่านี้ มากเป็นอันดับเท่าไหร่ ๆ ของโลก ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิด Climate Change แล้วเราเคยคิดไหมว่า จริง ๆ แล้วก็คือ ตัวเราเองนี่แหละ ที่มีส่วนอย่างมากที่ทำให้มีการปล่อยคาร์บอน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราปล่อยคาร์บอนไปเท่าไหร่? ถ้าเราไม่รู้ ก็คงจะไม่ใส่ใจ แต่ตอนนี้เราจะอ้างไม่ได้แล้ว เพราะเว็บไซต์ Climate Neutral Now ของ UN Framework Convention on Climate Change มีเครื่องคำนวณให้คุณ ง่าย ๆ โดยการกรอกข้อมูลที่เว็บนี้ > http://climateneutralnow.org/SitePages/HOW.aspx ข้อมูลที่ต้องกรอกก็คือ ประเทศที่อยู่ ขอบเขตการปล่อยคาร์บอนที่เราต้องการคำนวณ (เช่น คำนวณสำหรับกี่คนและในช่วงกี่ปี) และข้อมูลเกี่ยวกับ lifestyle ของเรา เช่น ขับรถสัปดาห์์ละกี่กิโล รีไซเคิลแค่ไหน ทานอาหารประเภทใดเป็นหลัก จากนั้นเครื่องคำนวณก็จะบอกคุณว่า คุณได้ปล่อยคาร์บอนมาแล้วกี่ตัน? เว็บนี้ไม่ได้มีเพียงเครื่องคำนวณ แต่ยังบอกวิธีการ… More ทำให้ตัวคุณเองเป็น “carbon-neutral” กันเถอะ

ชาวเอเชี่ยนอเมริกันเรียนเก่ง แต่ทำไมไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานอย่างที่คิด?

หลายคนคงจะได้ยินเกี่ยวกับคดีความที่ชาวเอเชี่ยนอเมริกันรวมตัวกันฟ้องมหาวิทยาลัยดังอย่าง Harvard และอื่นๆ เรื่องการ “discriminate” ชาวเอเชียนอเมริกันในการเข้าเรียน นักเรียนกลุ่มนี้อ้างว่า เอเชี่ยนอเมริกันต้องใช้คะแนนสอบและคุณสมบัติอื่น ๆ มากกว่านักเรียนกลุ่มอื่นๆ ในการเข้ามหาวิทยาลัยระดับ Ivy League จากสถิติของ The Economist ตอนนี้ ชาวเอเชี่ยนอเมริกันคิดเป็นสัดส่วน 5.6% ของชาวอเมริกันทั้งหมด แต่เข้าไปอยู่มหาลัยท้อปๆ เฉลี่ย 20-30% ของนักศึกษาทั้งหมดเลยทีเดียว ถ้าดูแค่ Caltech ซึ่งเป็นมหาลัยอันดับ 1 ของโลกจากการจัดอันดับโดย Times Higher Education ในปี 2015 ก็พบว่า ตอนนี้มีนักเรียนชาวเอเชี่ยนอเมริกันนั้นปาเข้าไปเกิน 40% แล้ว! (เพิ่มขึ้นจากประมาณ 20% เมื่อ 20 ปี ที่แล้ว) เหตุผลที่เรียนดีนั้น หลายงานวิจัยบอกว่า ไม่เกี่ยวกับสติปัญญา แต่เป็นเรื่องของค่านิยมแบบเอเชียที่เข้มงวด ทำให้เด็กขยันและทำสอบได้ดีกว่ากลุ่มอื่นๆ (The Economist เล่นมุก A- ของชาวเอเชี่ยนอเมริกัน ก็คือ… More ชาวเอเชี่ยนอเมริกันเรียนเก่ง แต่ทำไมไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานอย่างที่คิด?

หมอกควันในสิงคโปร์ และค่า PSI หมายถึงอะไร

ช่วงนี้หลายคนคงได้ยินข่าวหมอกควัน หรือ haze ในสิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งพัดมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งทำให้ท้องถนนมืดมัว ทัศนวิสัยบางส่วนถูกบดบัง และทำให้บางคนที่สุขภาพไม่แข็งแรงอาจมีอาการเจ็บป่วยได้ เวลาดูข่าว เรามักจะได้ยินสิ่งที่เรียกว่าค่า PSI เป็นตัวเลข แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ค่า PSI นี่หมายถึงอะไร และเราควรจะป้องกันตัวเองอย่างไรบ้าง PSI ย่อมาจาก Pollutant Standards Index ซึ่งเป็นมาตรฐานการวัดมลพิษ ในช่วงเวลาปกติ PSI จะมีค่าต่ำ ช่วงเวลาที่มีมลพิษสูง ค่า PSI ก็จะสูงตาม จากเว็บไซต์ขององค์กรสิ่งแวดล้อมสิงคโปร์ (National Environmental Agency: NEA) www.nea.gov.sg ได้ระบุการแปลความหมายค่า PSI ระดับต่าง ๆ ดังนี้ ระดับต่ำกว่า 50            ดี 51-100                         ปานกลาง 101-200                       ไม่ดีต่อสุขภาพ (unhealthy) ขอให้ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจหรือระบบทางเดินหายใจลดการทำกิจกรรมทางกายภาพหรือกิจกรรมกลางแจ้ง บุคคลทั่วไปขอให้หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน… More หมอกควันในสิงคโปร์ และค่า PSI หมายถึงอะไร

ขับรถเที่ยว Lake District + Highlands (Scotland) สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติใน UK

แม้ว่า UK จะเป็นประเทศที่รถไฟไปถึงแทบทุกที่ และแทบทุกครั้งที่เดินทางในประเทศนี้เราก็จะเดินทางด้วยรถไฟ แต่การเดินทางด้วยรถไฟ คือการเดินทางจาก “เมืองหนึ่ง” ไปยัง “อีกเมือง” และการท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องเป็นการตะลุยเมือง เมื่อจุดมุ่งหมายของเราในครั้งนี้ไม่ใช่การเที่ยวเมือง แต่เป็นการลัดเลาะตามพื้นที่กว้าง เพื่อชื่นชมเทือกเขา ทะเลสาบ ฟาร์มปศุสัตว์ สิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ รวมทั้ง ไปเที่ยวเกาะที่ไม่มีรถไฟเข้าถึง.. โดยที่อยู่อังกฤษมาหลายปี และมีโอกาสได้ไปหลาย ๆ ภูมิภาคของประเทศนี้จนเกือบครบถ้วน (ซึ่ง 95% เป็นการเดินทางด้วยรถไฟ) รวมทั้งได้ไปเยือนสก็อตแลนด์หลายครั้ง แต่ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่ได้ไปเยือน “Highlands” หรือพื้นที่สก็อตแลนด์ตอนเหนือ ซึ่งหมายถึงพื้นที่ตอนเหนือของเมือง Glasgow ขึ้นไป มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง สลับกับทะเลสาบ ซึ่งผู้เขียนตั้งใจจะไปดูสิ่งเหล่านี้ให้ได้.. (ไม่รู้ว่าผู้อ่านฟังแล้วจะตื่นเต้นรึเปล่า แต่ผู้เขียนตื่นเต้นมากถึงมากที่สุด ^^) ภูเขาที่สูงที่สุดในบริเทน (Ben Nevis) เกาะที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดในบริเทน (Isle of Skye) ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในบริเทน (Loch Lomond) ทะเลสาบชื่อดังก้องโลก Loch Ness รางรถไฟที่ได้ชื่อว่าวิวสวยที่สุดในบริเทนที่ใช้ถ่ายเป็น Hogwarts Express ใน Harry Potter (Glenfinnan… More ขับรถเที่ยว Lake District + Highlands (Scotland) สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติใน UK

เรื่องราวของ Fifteen : ร้านอาหารแห่งความหวัง

เมื่อเดินเข้าไปในร้าน Fifteen ที่ย่านตะวันออกเฉียงเหนือของใจกลางกรุงลอนดอน คนส่วนใหญ่มักมองว่าเป็นร้านอาหารธรรมดา ๆ แห่งหนึ่ง ขณะที่บางคนอาจรู้ว่าเป็นร้านอาหารของ เซเลบริตี้เชฟชื่อดังชาวอังกฤษอย่าง เจมี่ โอลิเวอร์ แต่ Fifteen นั้นไม่ใช่เพียงแค่ร้านอาหารธรรมดา เป็นร้านอาหารที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง นอกจากที่เราจะได้ลิ้มรสอาหารอร่อย ที่สดใหม่ และมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน อันเป็นหัวใจสำคัญของการทำอาหารของเจมี่ และยังจะได้รู้สึกอิ่มเอมจิตใจไปพร้อม ๆ กัน…เมื่อรู้ว่าร้านอาหารแห่งนี้ เป็นโครงการการกุศลที่ช่วยเหลือผู้ยากไร้ที่ตกงาน เจมี่ โอลิเวอร์ โด่งดังมาจากรายการโทรทัศน์ แต่เมื่อเริ่มมีชื่อเสียง เขาก็เลือกที่จะไม่ทอดทิ้งสังคม โครงการ Fifteen ได้จัดตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 2545 หรือเมื่อ 12 ปีที่แล้ว โดยเจมี่ได้จ้าง เยาวชนที่ขาดการศึกษา ตกงาน หรือไม่มีบ้านอยู่ และไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับการทำอาหารเลยสักนิด จำนวน 15 คน มาฝึกงานกับเขาในร้านอาหารชื่อ Fifteen แห่งนี้ ที่นี่พวกเขาจะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเตรียมอาหารเบื้องต้น ไปจนถึงการปรุงอาหารรสเลิศ และก้าวไปสู่การบริหารจัดการร้านอาหาร แต่ละกระบวนการต้องอาศัยความมุมานะและความตั้งใจจริง กอปรกับสภาพจิตใจที่ไม่ยอมแพ้ เพื่อที่จะ “สอบผ่าน” ในการฝึกงานครั้งนี้ซึ่งเป็นบททดสอบอันท้าทางครั้งสำคัญของชีวิต แม้ว่าแรกเริ่มนั้น Fifteen… More เรื่องราวของ Fifteen : ร้านอาหารแห่งความหวัง

:+:+: The Big Issue : คนละไม้คนละมือ :+:+:

จะเป็นอย่างไรนะ ถ้าเราไม่มีบ้านอยู่ ? คนเรามีความต้องการหลายอย่างในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน เงินทอง หน้าที่การงาน ความรักที่ดี จนกระทั่งลืมไปแล้วว่า สิ่งพื้นที่อย่างหนึ่งที่สำคัญของคนเรา นั่นก็คือ “บ้าน” หรือที่อยู่อาศัยในปัจจัยสี่ แต่ก็มีหลายคนในโลกนี้ ที่ไม่มีบ้านอยู่ ท่ามกลางความหนาวเหน็บ และค่าครองชีพแสนแพงในหลายเมืองในยุโรป กลายเป็นธรรมดาไปแล้วที่เราจะได้เห็น “ผู้คนไร้บ้าน” หรือ homeless ที่เร่ร่อน ขอเงินผู้คนที่ผ่านไปมาเพื่อปะทังความหิวโหย และซุกหัวนอนใต้สะพาน อุโมงค์รถไฟใต้ดิน มีหมวกเก่า ๆ สักใบ และถุงนอนขาด ๆ เพื่อป้องกันตนเองจากความหนาว “จรจัด” เป็นอีกชื่อที่บางคนเรียก ผู้คนที่ไม่มี “บ้าน” อยู่เหมือนพวกเรา คงไม่มีใครต้องการคำนี้ ถ้ามีทางเลือก พวกเขาก็คงต้องการทำงาน มีชีวิตที่ดีขึ้น นี่คือที่มาของ “Big Issue” นิตยสารเพื่อ “ผู้คนไร้บ้าน” โดยเฉพาะ “Big Issue” เป็นนิตยสารรายสัปดาห์ที่รวบรวมบทความน่าสนใจ โดยนักเขียนมืออาชีพ ที่แตกต่างจากนิตยสารทั่วไปคือ ไม่มีวางขายตามแผงหนังสือธรรมดา แต่เราจะต้องหาซื้อจาก “ผู้คนไร้บ้าน” ที่ยืนขายตามท้องถนนเท่านั้น… More :+:+: The Big Issue : คนละไม้คนละมือ :+:+:

พื้นที่สีเขียวกับชีวิตคนเมือง

เร็วๆ นี้ผู้เขียนได้ย้ายมาทำงานที่ประเทศสิงคโปร์ เกาะเล็ก ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์จากทิศหนึ่งไปยังอีกทิศหนึ่งของประเทศ ยังไงก็ไม่เกิน 1 ชั่วโมง สิงคโปร์เป็นประเทศที่คนไทยมักจะนึกถึงแต่ห้างสรรพสินค้าและธุรกิจบริการซึ่งทำรายได้อันดับหนึ่งเข้าประเทศ แต่ท่ามกลางชีวิต “คนเมือง” ในดินแดนแห่งสิงโตแห่งนี้ มีเรื่องที่น่าทึ่งไม่น้อยในฐานะเมืองหลวงที่มีพื้นที่สีเขียวต่อประชากรมากที่สุดในทวีปเอเชีย แม้ว่าสิงคโปร์จะมีขนาดเล็ก และมีประชากรจำนวนไม่น้อยคือประมาณ 5 ล้านคน (ซึ่งเป็นชาวต่างชาติอยู่สัดส่วนค่อนข้างมาก) แต่เมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ในเอเชีย 22 ประเทศ แล้วสิงคโปร์กลับกินขาด จากการสำรวจของ Economist Intelligence Unit เมื่อปีก่อน ประชากรชาวสิงคโปร์แต่ละคนมีพื้นที่สีเขียวถึง 66 ตารางเมตร ขณะที่ค่าเฉลี่ยในเอเชียอยู่ที่ 39 ตารางเมตร กัวลาลัมเปอร์ 44 ตารางเมตร ในขณะที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีพื้นที่สีเขียวเพียง 3 ตารางเมตรต่อประชากรเท่านั้น (น้อยกว่าสิงคโปร์ถึง 22 เท่า แม้ว่าพื้นที่จะรวมกันใหญ่กว่าเกือบ 10 เท่า) ภายใน Flower Dome ของ Gardens by the Bay สำหรับสิงคโปร์… More พื้นที่สีเขียวกับชีวิตคนเมือง

วิธีฝึกนิสัยการใช้เงินให้กับลูกของแม่

หลายครั้งที่ได้ยินคำพูดที่ว่า “วัยรุ่นใช้จ่ายเกินตัว” โดยการขอเงินพ่อแม่เพื่อให้ “มี” เท่า ๆ กับเพื่อน ๆ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือโทรศัพท์ ส่งผลให้พ่อแม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ต้องรูดบัตรเครดิตแต่ก็จ่ายไม่หมด พะรุงพะรังดอกเบี้ยมหาโหด จนกว่าจะแทบใช้หนี้คืนได้ก็เลือดตาแทบกระเด็น ล่าสุดกรณีที่ @khajochi เล่าให้ฟังในทวิตเตอร์เมื่อวันก่อน คือ ลูกขอเงินแม่ซื้อ iPhone 5 แม้ว่าจะใช้ BB อยู่ ตอนแรกแม่ก็บอกว่าไม่มีเงิน แต่ทนแรงตื๊อลูกไม่ไหว ก็เลยจัดการรูดบัตรเครดิตซื้อ iPhone 5 ให้ลูก 2 คน คนละเครื่อง เป็นหนี้บัตรเครดิตเรียบร้อยไปแล้ว 50,000 บาท ไม่รู้ว่ากรณีนั้น แม่จะมีเงินมาคืนบัตรเครดิตในครั้งนี้หรือไม่ แต่ผลมาจากการใจอ่อนและรักลูกของแม่ในครั้งนี้ แม้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ก็อาจจะไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว ซึ่งจะต้องเกิดกรณีแบบนี้ขึ้นอีกเรื่อย ๆ ในครอบครัว เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว จึงขออนุญาตแชร์ประสบการณ์ที่ถูกสอนมาตอนเด็ก ๆ ให้ฟัง เผื่อจะเป็นประโยชน์กับหลายครอบครัว ในขณะที่ครอบครัวส่วนใหญ่ใช้วิธีการกำหนดว่า ให้ลูกใช้จ่ายอะไรได้-อะไรไม่ได้ เช่น โทรศัพท์เก่าแล้วรึยัง ถ้ายังไม่เก่า ให้ใช้ต่อ แต่ถ้าเก่าแล้ว… More วิธีฝึกนิสัยการใช้เงินให้กับลูกของแม่

เมื่อธนาคารอยู่กับเราได้ทุกที่

สมัยนานมาแล้ว รุ่นคุณย่า ก็มักไม่ยอมมีบัตร ATM เพราะว่ากลัวว่าจะมีคนขโมยและเงินจะหายวับไป… ไม่ใช่เพียงแค่คนไทย คนอังกฤษรุ่น credit crunch ก็มักจะมีอาการ “กลัวธนาคาร” คือไม่ยอมเอาเงินไปฝากเสียด้วยซ้ำ เพราะกลัวว่า ถ้าแบงค์ล้มไปจะเป็นอย่างไร เงินที่ฉันสะสมมาจะหายไปไหน เอาเงินฝังในหีบดีกว่ามั้ย..? “ความกลัว” เหล่านี้เกิดขึ้นได้เสมอ ๆ เมื่อมีวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามา ล่าสุดนวัตกรรมที่เรียกว่า Online Banking System ที่พยายามเข้ามา “ปฏิวัติ” วงการการธนาคารของไทยก็ต้องพยายามลงทุนเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจจากลูกค้า ไม่เพียงแต่ให้เข้ามาในระบบ Online Banking แต่จะต้องให้ลูกค้าเข้าสู่ Online Banking ของธนาคารตนได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการธำรงอยู่ของระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของการ “บอกต่อ” ได้อย่างง่ายดายผ่าน social network บริการ Online Banking ปัจจุบันมีแทบเกือบทุกธนาคาร (ยกเว้น ธนาคารที่เชยมาก ๆ จริง ๆ ซึ่งจะไม่ขอเอ่ยนาม) แต่ละบริการก็มีรายละเอียดที่ต่างกัน มีลูกเล่นและ incentive ที่ไม่ค่อยเหมือนกันเสียทีเดียว หากเป็นระบบที่เบสิคที่สุด… More เมื่อธนาคารอยู่กับเราได้ทุกที่