ปี 2016 เป็นปีที่ครบรอบ 400 ปี การเสียชีวิตของ William Shakespeare กวีชื่อก้องโลกชาวอังกฤษ คงไม่ต้อง intro กันมากว่า Shakespeare นั้นโด่งดังอย่างไร ทุกคนคงจะรู้จักผลงานของเขา ไม่ว่าจะเป็น Romeo & Juliet, Hamlet, Macbeth, Twelfth Night, A Midsummer Night’s Dream ฯลฯ ผลงานเหล่านี้เป็นเพียงหนึ่งในงานเขียนกว่า 200 ชิ้น ของ Shakespeare ซึ่งเป็นบทละคร 37 ชิ้นเลยทีเดียว
Shakespeare โด่งดังในยุค “Elizabethian” หรือที่ชาวอังกฤษใช้เรียกยุคของ Queen Elizabeth I จนมาถึงยุคของกษัตริย์ James I ผู้สืบทอดบัลลังก์ต่อจาก Elizabeth I เขาเกิดในเมืองเล็ก ๆ ชื่อ Stratford-Upon-Avon ซึ่งอยู่เหนือลอนดอนไปไม่มาก ครอบครัวของเขามีฐานะปานกลาง จากนั้นก็ย้ายมาลอนดอนในฐานะนักแสดงและนักเขียนบทละคร Shakespeare นั้นได้แสดงในโรงละครต่าง ๆ รวมทั้งโรงละครของเขาเองที่อยู่ติดแม่น้ำเธมส์ ชื่อว่า Globe Theatre ซึ่งเป็นโรงละครที่ชาวบ้านสามารถเข้าถึงได้ เพราะราคาตั๋วไม่แพง สามารถยืนดูได้
ชีวิตของ Shakespeare นี้ค่อนข้างน่าสนใจ และมีทฤษฎีเค้ามาเกี่ยวข้องมากมาย บ้างก็ว่า Shakespeare แท้จริงแล้วไม่ได้เขียนบทละครเอง เพราะด้วยพื้นฐาน background แล้วไม่น่าจะเขียนบทละครที่มีความเกี่ยวข้องกับสังคมชั้นสูงได้ (บทละครหลายเรื่องของเขาเป็นเรื่องทางประวัติศาสตร์ เช่น Henry V หรือ Richard III และมีทฤษฎีว่า จริง ๆ แล้วนักเขียนตัวจริงก็เป็นคนในสังคมชั้นสูงของราชวงศ์อังกฤษ) นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวอ้างว่าไม่เคยมีการค้นพบ “menuscript” ของบทละครใด ๆ ที่เขียนด้วยลายมือของเขา แต่บ้างก็ว่า เป็นเพราะสมัยก่อนนั้นยังไม่มีกฎหมายปกป้องลิขสิทธิ์ที่ดีพอ จึงไม่มีการ “copy” บทละครเพื่อป้องกันการเผยแพร่ ใช้วิธีกระซิบนักแสดงในช่วงระหว่างการซ้อมแทน
ใครสนใจทฤษฎีแปลก ๆ เกี่ยวกับประวัติของ Shakespeare แนะนำให้ดูหนังเรื่อง “Anonymous” (2011) อันนั้นแปลกจริงค่ะ ขอไม่เผยว่าหนังเล่าว่าอะไร เพราะมันช่างซับซ้อนซ่อนเงื่อนยิ่งกว่าละครของ Shakespeare เองเสียอีก
ไม่ว่า Shakespeare จะเขียนจริงหรือไม่ Shakespeare ก็เรียกว่าเป็น symbol ของ English Literature ไปแล้ว นักเรียนในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเกือบทุกคนจะได้เรียนผลงานของ Shakespeare เช่นเดียวกับที่เราได้เรียนผลงานของสุนทรภู่
แต่ที่ทำให้ Shakespeare กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไปแล้วจริง ๆ คือ ภาษาที่ Shakespeare ได้ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อกว่า 400 ปี มาแล้วกว่า 1,700 คำ ได้กลายมาอยู่ใน Dictionary ปัจจุบันแล้ว และกลายเป็นภาษาพูดที่คนทั่วไปก็พูดกันอยู่ตลอดเวลา อย่างเช่นคำข้างล่างนี้ (ไม่น่าเชื่อใช่ไหมล่ะ)
ในปี 2016 อังกฤษจึงฉลองการครบรอบ 400 ปี การเสียชีวิตของ Shakespeare ด้วยโครงการ “Shakespeare Lives” ทั่วประเทศ มีการแสดง play ฉายหนัง เสวนา พิมพ์แสตมป์ ฯลฯ นอกจากนี้ โครงการ “Shakespeare Lives” ก็ยังเผยแพร่ในต่างประเทศด้วย โดยมี British Council เป็นตัวผู้ชูโรง
หนึ่งในกิจกรรมที่ผู้เขียนได้ไปเข้าร่วมคือ การนำ Hamlet ฉบับแสดงโดย Benedict Cumberbatch ที่ Barbican Theatre ในลอนดอน มาฉายบนจอภาพยนตร์ การแสดงนี้ Cumberbatch แสดงไว้เมื่อเดือน ต.ค. 2015 และมีการตั้งกล้องถ่ายในละครเพื่อนำมาฉายทั่วโลก
การตั้งกล้องถ่ายละครนี้ไม่ได้ทำแค่เรื่องเดียว แต่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ National Theatre Live ของอังกฤษ ที่ถ่ายทำจากโรงละครจริงขณะที่มีคนดู แล้วนำไปฉายโรงหนัง 2,000 กว่าโรงทั่วโลก (เป็นการหาเงินของ Theatre production สมัยใหม่ ซึ่งค่อนข้าง controversial แต่ผู้เขียนคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีนะ โดยเฉพาะเพื่อการศึกษาสำหรับผู้ชมที่ไม่สามารถ afford ค่าตั๋วละครแพง ๆ ได้)
Hamlet เวอร์ชั่น Cumberbatch นี้เป็น modern interpretation ที่ค่อนข้าง faithful กับต้นฉบับ ขอบอกว่า สุดยอดมากทั้งเรื่อง acting และ production ขนาดดูผ่านฟิล์มยังขนลุก ประเภทที่ว่า
“To see or not to see, that is NOT the question.”
จะไปดู หรือไม่ไปดู นั่นไม่ใช่สิ่งที่ต้องถามแล้ว..
เสริมอีกนิด สำหรับคนที่ไปลอนดอน ถ้ามีโอกาสแนะนำให้ไปดูละคร Shakespeare ส่วนตัวแล้วคิดว่า คงไม่มีที่ไหนที่เหมาะกับการดูละคร Shakespeare เท่าที่ Shakespeare’s Globe Theatre ที่นี่เป็นโรงละครที่สร้างขึ้นมาเหมือนโรงละครเก่าของ Shakespeare เมื่อ 400 กว่าปีก่อน ในบริเวณใกล้ ๆ เดิม บรรยากาศในการดูละครที่นี่เจ๋งสุด ๆ เลยล่ะค่ะ ให้อารมณ์เหมือนสมัยโบราณเลย คือ “ไม่มีหลังคา”
ถ้าให้ได้อารมณ์ร่วมจริง ๆ แนะนำให้ซื้อตั๋วถูกสุด ราคา £5 ซึ่งคือ ราคาตั๋วสำหรับการ “ยืนดู” ค่ะ ดูแบบนี้จะได้อารมณ์ชาวบ้านสมัยโบราณ คลาสสิคมาก ดูไปกินถั่วไป แต่อาจจะทรมานเล็ก ๆ หากมีฝรั่งตัวโตบังอยู่ข้างหน้า
สุดท้ายนี้แล้ว ผู้เขียนเชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่ค่อยได้มีโอกาสสัมผัสกับ Shakespeare มากนัก นอกเหนือจากในภาพยนตร์ อยากจะแนะนำให้ลองได้ไปสัมผัสดูโดยเฉพาะในรูปแบบของละครค่ะ แล้วจะรู้ว่ามันสนุกขนาดไหน 🙂