:+:+: Mood of Me : เมื่อแบรนด์หันมาทำแอพแจกฟรี :+:+:

ตั้งแต่ยุค 90s มาแล้ว เวลาที่เราไปเดินตามห้างสรรสินค้า หรือไปงานแสดงสินค้า เรามักจะได้รับของแจกฟรีอะไรสักอย่างติดไม้ติดมือกลับมาบ้าน ตั้งแต่ขวดน้ำพลาสติกที่มีแบรนด์สินค้าติดอยู่ ถุงผ้า ปฏิทิน ปากกา กระเป๋าสะพาย หรือร่มคันโต ๆ สีจัดจ้าน

วัตถุประสงค์ของการแจกของเหล่านี้ก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่ คือต้องการเพิ่ม brand recognition ให้กับสินค้าของเขา ทุกครั้งที่ลูกค้าอย่างเราหยิบของชิ้นนั้นขึ้นมาใช้ รวมถึงการดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาในบู้ทสินค้าแต่ละชิ้นมีต้นทุน ต้นทุนการทำสินค้าเหล่านี้ก็แตกต่างกันไปตามประเภทของสิ่งของ แบรนด์ก็คงสงสัยถึงความคุ้มค่าของสิ่งของมันไม่น้อย โดยเฉพาะในกรณีที่แจกฟรีไปเลย โดยไม่ต้องซื้อสินค้า

เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิตอล แนวคิดการดำเนินธุรกิจก็ได้เปลี่ยนไป การโฆษณาหันไปใช้สื่อ new media รวมทั้ง social media ที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า และเข้าถึงคนได้มากกว่า (หากแคมเปญนั้นประสบความสำเร็จ) การเพิ่มยอด Like เพจก็ยังเป็นสิ่งที่แบรนด์ต่าง ๆ ต้องแข่งขันกันอยู่ทุกวัน และมีการคิดค้นเครื่องมือใหม่ ๆ ที่มีดึงดูดลูกค้าเพิ่มเติมเสมอ ๆ

เทรนด์ใหม่ของแบรนด์ตอนนี้ คือ การทำแอพแจกฟรี และอาศัยการ tie-in ของแบรนด์ลงไปในแอพนั้น ๆ กรณีที่เห็นอยู่ทั่วไป ก็เช่น แอพสอนทำกับข้าวแจกฟรีโดยเชฟ Jamie Oliver แอพดูดวงแจกฟรีของ Sanook ฯลฯ กรณีเหล่านั้นหากแอพดีจริงก็จะดังเอง แต่ไม่มีการ spread ออกไปยังผู้อื่นมากเท่าไหร่ยกเว้นกรณีปากต่อปาก เนื่องจากไม่ได้มีลักษณะเป็น social app

แอพแจกฟรีของคุณเชฟชื่อดัง Jamie Oliver ขวัญใจผู้เขียนบล็อคนี้

Social app คืออะไร ก็คือ application ที่มีลักษณะเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ ในลักษณะการสร้าง Social Network เช่นเดียวกับยักษ์ใหญ่จำพวก Facebook, Twitter, Instagram อย่างไรก็ดี แอพเล็ก ๆ ที่จะทำเป็นลักษณะ Social app นั้น อาจไม่สามารถ stand alone ได้ จะต้องเชื่อมโยงกับ Social Network ใหญ่ ๆ พวกนี้ เพื่ออาศัยการเผยแพร่ไปยังผู้ใช้อื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

แอพ Mood of Me ที่เห็นล่าสุด เป็นความพยายามของเครื่องสำอางยี่ห้อดัง “Artistry” ของ Amway ที่พยายามจะ tie-in แบรนด์ให้เข้าไปยังแอพ ซึ่งมีลักษณะเป็น social app ที่มีให้โหลดทั้ง iOS/Android โดยต้องการสร้าง Brand Recognition ให้กับ Artistry ว่าเป็นแบรนด์เครื่องสำอาง ก็ต้องเน้นความสวยความงาม ก็เลยลงตัวที่การมีลักษณะเป็น Community ของการ “แชร์ภาพถ่ายของคุณเอง”

จุดขายของ Mood of Me คือ “การบ่งบอกอารมณ์” ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์สวย (Beauty) (แน่นอน..เพราะ Artistry ขายเครื่องสำอาง) อารมณ์เลิศ (Gorgeous) อารมณ์รัก (In Love) อารมณ์หงุดหงิด (Moody) อารมณ์โมโหหิว (Hungry Monster) อารมณ์เปียก (Splash) ฯลฯ ที่ให้ผู้ใช้สามารถเลือกบอกได้เลยว่า “ตอนนี้ฉันอารมณ์อะไร กี่เปอร์เซ็นต์!”

กรณีนี้คือเซ็นเอกสารไปแล้วประมาณ 57% ของเอกสารทั้งหมดที่ต้องเซ็น จึงโชคดี 57%

Platform หลักของ Mood of Me นั้นอยู่บน Facebook (เป็น Facebook app) เมื่อกดแชร์ภาพจากโทรศัพท์มือถือตรงจากแอพ ภาพจะเข้าไปอยู่บน Mood of Me Facebook app ทันที ส่วนการแชร์ไปยัง Platform อื่นนั้น สามารถแชร์ได้ตรงจากแอพไปยัง Twitter และ Instagram ได้เช่นกัน

การเลือกแชร์ภาพจาก Mood of Me ไปยัง Instagram ตรงเลยมีข้อดีสำหรับคนที่ต้องการจะรักษา privacy ของตนเอง เนื่องจากการแชร์ไปยัง Mood of Me Community นั้น ภาพของทุกคนจะกลายเป็น public ใคร ๆ เข้าไปดูก็เห็นได้หมด และการแชร์ไปยัง Instagram ตรงนั้น จะสามารถแก้ไข # ต่าง ๆ ได้ ไม่จำเป็นต้องมี # ตามที่ตัวแอพกำหนดมา อย่างไรก็ตาม การไม่แชร์เข้า Mood of Me Community จะทำให้เสียสิทธิ์ในการชิงโชคตั๋วหนังบน Facebook page ของ Artistry 

ประกาศรายชื่อผู้โชคดีจากการแชร์ภาพในแอพ Mood of Me ทุก ๆ สัปดาห์ ผู้เขียนเคยได้ 1 ครั้ง แต่ unlucky 99% เพราะไม่ได้อยู่เมืองไทย อดใช้เลย..

การให้มีชิงโชคตั๋วหนังทุก ๆ สัปดาห์นั้น นอกจากจะเป็นการเพิ่มยอดผู้ใช้แอพแล้ว ยังเป็นการเพิ่ม Brand Recognition อีกทาง เนื่องจากผู้ใช้จะต้องคอยเข้าไปตรวจสอบรายชื่อจาก Artistry Facebook Page อยู่เรื่อย ๆ และแน่นอนว่าในเพจก็ได้มีการโฆษณาสินค้าแอบแฝงอยู่มากมาย เข้าไปทีไรก็ต้องอยากได้โน่นได้นี่อยู่เรื่อยตามประสา ^^ (แต่จะว่าไปการเข้าไปในเพจของเขาก็แอบได้ความรู้บ้างนะ พวกการดูแลผิวพรรณอะไรแบบนี้ ซึ่งปกติเป็นคนไม่ใส่ใจอะไรเลย)

นิดนึง ๆ เหลือไว้สัก 6%

ในฐานะผู้ที่เล่นแอพ Mood of Me อยู่ ก็มองว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งเลย โดยดูจาก..

  • Mood of Me สามารถทำให้คนหันมาเล่นได้พอสมควรเลย แม้ว่าจะเป็นแอพที่ tie-in แบรนด์อย่างชัดเจน
  • Mood of Me เพิ่ม engagement ให้กับลูกค้า และลูกค้าในอนาคตให้กับ Artistry ได้ โดยดูจากจำนวนยอดกดไลค์ในเพจ Artistry Thailand ที่เพิ่มขึ้นมากในระยะหลัง ๆ
  • กิจกรรมชิงตั๋วหนัง เป็นการตลาดง่าย ๆ ราคาไม่แพงที่แฝงมากับแคมเปญแอพฟรีนี้ และทำหน้าที่ของมันได้ดี ช่วยกระตุ้นยอดดาวน์โหลดได้มาก

อย่างไรก็ดี ยังมีบางอย่างที่สามารถพัฒนาให้แอพนี้ดีขึ้นได้ ดังนี้

  • อาจพัฒนาให้มี “อารมณ์” ให้เลือกมากกว่านี้ Mood of Me ยังขาด “อารมณ์” มัน ๆ หลายอย่าง เช่น หึง เกลียด เครียด เพลีย หมดแรง… ฯลฯ หรือถ้าจะให้ดี ต้องให้เราพิมพ์อารมณ์ของเราเองเลย
  • แถมอารมณ์ใหญ่ไปนิด หลายทีมาบดบังความสวยงามของภาพ มีอารมณ์ “In Love” ที่ไม่บดบังเท่าไหร่และกำลังสวยงาม
  • ถ้าจะให้มันต้องเพิ่มฟังก์ชั่น random ให้ตัวเลขขึ้นเองว่าตอนนี้ฉันอารมณ์นี้กี่ %
  • ถ้าเป็นแอพแต่งภาพในตัวเองจะเลิศมาก แต่ก็อย่างว่า…Artistry ผู้ผลิตแอพคงไม่ยอม เพราะถ้าใช้ Artistry นี่คงไม่ต้องแต่งภาพแล้ว คือ สวยแต่แรก!! อะไรแบบนี้ใช่มั้ย 

ปัจจุบันเห็นแบรนด์อื่น ๆ หันมาทำแอพแจกฟรีกันแบบนี้เยอะขึ้น เห็นแบบนี้ก็ปลื้มว่าวงการสื่อดิจิตอลไทยกำลังเติบโต นักพัฒนาไทยได้ประโยชน์ และที่สำคัญคือลูกค้าได้ประโยชน์เมื่อแบรนด์ต่าง ๆ พยายามแข่งขันกันเองเพื่อพัฒนาแอพของตนให้ยิ่งดีขึ้นไปให้ลูกค้าอย่างเราได้ใช้กันฟรี ๆ

ยุคสมัยเปลี่ยนไป นี่คือยุคแห่งการแจกฟรี ผู้เขียนเชื่อในการโฆษณาที่จะช่วยให้เราได้บริโภค/อุปโภคของ (แอพ) ฟรี โดยแลกกับการโฆษณาเล็ก ๆ น้อย ๆ

Additional Information:

 

 


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *