Global Inequality : สถิติน่าสนใจเกี่ยวกับมหาเศรษฐีในโลกใบนี้

ไม่นานมานี้ Credit Suisse ได้เผยแพร่รายงานเรื่อง Global Wealth 2014 ซึ่งมีสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “equality” หรือความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ ซึ่งพบว่า แม้เศรษฐกิจโลกจะดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่ความรวยนั้นกลับกระจุกตัวที่คนรวยไม่กี่คนเพิ่มขึ้น รายงานฉบับนี้มีความยาวพอสมควร และมีบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจทีเดียว แต่ก็ขอหยิบสถิติในบางเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “ความเสมอภาค” มาเล่าให้ฟัง 6 ข้อ

1. คนรวยที่สุด 10% ของประเทศ มีทรัพย์สินคิดเป็นกี่ % ของทรัพย์สินทั้งหมด

photo 1

 

ตารางนี้ทำให้เราทราบว่า ญี่ปุ่น และเบลเยี่ยม มีความเสมอภาคทางเศรษฐกิจมากที่สุด คือ คนรวย 10% มีทรัพย์สินรวมกันน้อยกว่า 50% ของทรัพย์สินทั้งหมด ขณะที่สหรัฐฯ และประเทศกำลังพัฒนาที่เป็น emerging market ส่วนใหญ่ รวมทั้งไทย อยู่ในประเภท “เสมอภาคน้อยมาก” คือ มีทรัพย์สินรวมกันเกินกว่า 70% (ของไทยตัวเลขอยู่ที่ 75%)

2. คนรวยเขาอยู่ที่ไหนกัน?

photo 3

เมื่อดูภาพที่ 2 จะเห็นว่า คนรวย (ในที่นี้คือ ผู้ที่มีทรัพย์สินมากกว่า 1 ล้าน USD ขึ้นไป หรือราว ๆ 30 ล้านบาท) อยู่ในอเมริกาถึง 41%! นั่นเป็นตัวเลขที่สูงมาก รองลงมาห่าง ๆ คือ ญี่ปุ่น (8%) ฝรั่งเศส (7%) เยอรมนี (6%) สหราชอาณาจักร (6%) แล้วก็ตามด้วยประเทศตะวันตกต่าง ๆ จนมาถึงจีน ตัวเลขอยู่ที่ 3%

3. “คนรวย” จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศพัฒนาแล้ว

photo

ตัวเลข “คนรวย” (มีมากกว่า >USD 1 ล้าน) จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศพัฒนาแล้วที่มีชีวิตความเป็นอยู่ดี เมื่อดูสถิติการเปลี่ยนแปลงตัวเลขของคนรวยในสหรัฐฯ จากปี 2013 ถึงปี 2014 เพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น ตัวเลขคนรวยในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง 1.6 ล้านคน แน่นอนว่าไม่ใช่เป็นเพราะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดีขึ้นขนาดนั้น แต่เป็นการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ UK เองก็ไม่น้อย มีคนรวยเพิ่มขึ้นถึง 5 แสนคนในปีเดียว (นั่นคิดเป็น 1% ของประชากร UK เลย)

 4. บางประเทศเจริญขึ้น แต่จำนวนคนรวยกลับลดลง!?photo 4

ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาที่อาจจะเรียกได้ว่า ชีวิตความเป็นอยู่ไม่ได้สุขสบายนัก แม้จะเป็นประเทศ emerging market อย่างอินโดนีเซีย ซึ่งหากดูสถิติจำนวนคนรวยสัญชาติอินโดนีเซียแล้วเพิ่มขึ้น แต่คนที่พำนักในอินโดนีเซียจริง ๆ กลับลดลง เช่นเดียวกับตัวเลขคนรวยในรัสเซีย ตุรกี อาร์เจนดิน่า และ (น่าแปลกใจเล็กน้อย) นอร์เวย์ (เพราะความหนาวหรือภาษีก็ไม่รู้สิ)

5. แล้วคน “รวยเวอร์ ๆ” เขาอยู่ที่ไหนกัน

photo 5

ดูสถิติ “คนรวย” แล้ว มาดูสถิติ “คนรวยเวอร์ ๆ” กันดีกว่า คนพวกนี้ คือคนที่มีทรัพย์สินมากกว่า USD 50 ล้าน หรือ 1,500 ล้านบาทขึ้นไป (อันนั้นคือขั้นต่ำ) แล้วดูจำนวนที่อยู่ในสหรัฐฯ สิ มีมากถึง 6,200 คน (โดยกลุ่มที่มีรวยที่สุด คือ กลุ่มที่มีทรัพย์สิน USD 1 พันล้าน หรือ 3 หมื่นล้านบาทขึ้นไป) แซงที่สองคือ จีน ที่มีคนรวยเวอร์ ๆ ราว ๆ 800 คน ตามด้วยประเทศแถบยุโรปตะวันตก

6. เอเชีย-โอเชียเนีย เป็นอย่างไร

photo 2

มาใกล้ตัวกันบ้างที่แถบเอเชีย-โอเชียเนีย กับกราฟตัวเลขการเปลี่ยนแปลงจำนวนเศรษฐี ระหว่างปี 2000 กับปี 2014 ซึ่งจู่ ๆ จีนกับออสเตรเลียก็มีคนรวย (>USD 1 ล้าน) เพิ่มขึ้นมาก ขณะที่เกาหลีใต้ก็เพิ่มขึ้นพอควร แม้ว่าจะไปกินสัดส่วนพื้นที่ของญี่ปุ่น แต่ก็ไม่ได้แปลว่า คนญี่ปุ่นจะรวยน้อยลง แค่คิดเป็นสัดส่วนที่ลดลงเท่านั้นเอง

แม้ว่ารายงานฉบับนี้จะไม่ได้โฟกัสที่รากเหง้าของความไม่เสมอภาค หรือการแก้ไขปัญหา เนื่องจากเป็นแบงค์ผู้ทำ research แต่สถิติเหล้่านี้ก็บ่งบอกได้หลาย ๆ อย่าง อาทิ แนวโน้มราคาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งแน่นอนว่าจะมีผลกระทบต่อชนชั้นกลางในประเทศต่าง ๆ อย่างเช่น นิวยอร์ก ลอนดอน หรือปารีส ในตอนนี้ อสังหาริมทรัพย์ใจกลางเมืองที่ราคาแพงกว่า 80-90% นั้น กลับกลายเป็นของต่างชาติไปแล้ว และชาว local เอง กลับต้องย้ายไปอยู่นอกเมืองที่ราคาถูกกว่า ประเด็นนี้ยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไปยังสังคมพหุวัฒนธรรมของเมืองใหญ่ ๆ ในโลกอีกด้วย

อ่านรายงานฉบับเต็มของ Credit Suisse ได้ที่ : https://publications.credit-suisse.com/tasks/render/file/?fileID=60931FDE-A2D2-F568-B041B58C5EA591A4


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *